Flashy Colorful Purple Pink Star 6 Purimpratch: กันยายน 2020

วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ปี 2560

 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 

 กรณีศึกษาและเนื้อหา 13 เรื่องที่ต้องรู้

https://contentshifu.com/blog/computer-law/

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ คืออะไร

    พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ก็คือพระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ค่ะ ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ว่านี้ก็เป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค สมาร์ตโฟน รวมถึงระบบต่างๆ ที่ถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งเป็นพ.ร.บ.ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อป้องกัน ควบคุมการกระทำผิดที่จะเกิดขึ้นได้จากการใช้คอมพิวเตอร์ หากใครกระทำความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์นี้ ก็จะต้องได้รับการลงโทษตามที่พ.ร.บ.กำหนดไว้ค่ะ

    ปัจจุบันมีคนใช้คอมพิวเตอร์ รวมถึงสมาร์ตโฟนเป็นจำนวนมาก บางคนก็อาจจะใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ แต่บางคนก็อาจใช้สิ่งนี้ทำร้ายคนอื่นในทางอ้อมด้วยก็ได้

    เราอาจจะได้ยินข่าวเรื่องการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์อยู่บ้าง ซึ่งบางเหตุการณ์ก็สร้างความเสียหายไม่น้อยเลย เพื่อจัดการกับเรื่องพวกนี้ เลยต้องมีพ.ร.บ.ออกมาควบคุม ในเมื่อการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเรื่องใกล้ตัวเรา พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ก็เป็นเรื่องใกล้ตัวเราเช่นกันค่ะ หากเราไม่รู้เอาไว้ เราอาจจะเผลอไปทำผิด โดยที่เราไม่ได้ตั้งใจก็ได้



13 เรื่องที่ห้ามทำ ผิดกฎหมาย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และบทลงโทษ


1. เข้าถึงระบบ หรือข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ชอบ

    หากเข้าไปเจาะข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ของคนอื่น โดยที่เจ้าของข้อมูลไม่ได้อนุญาต (ละเมิด Privacy) หรือในเคสที่เรารู้จักกันดีก็คือ การปล่อยไวรัส มัลแวร์เข้าคอมพิวเตอร์คนอื่น เพื่อเจาะข้อมูลบางอย่าง หรือพวกแฮคเกอร์ ที่เข้าไปขโมยข้อมูลของคนอื่นก็มีความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ค่ะ

บทลงโทษ

  • เข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์และนำไปเปิดเผย: จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

2. แก้ไข ดัดแปลง หรือทำให้ข้อมูลผู้อื่นเสียหาย

    ในข้อนี้จะรวมหมายถึงการทำให้ข้อมูลเสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลของผู้อื่นโดยมิชอบ หรือจะเป็นในกรณีที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ อย่างเช่น กรณีของกลุ่มคนที่ไม่ชอบใจกับการกระทำของอีกฝ่าย แล้วต่อต้านด้วยการเข้าไปขัดขวาง ทำร้ายระบบเว็บไซต์ของฝ่ายตรงข้าม ให้บุคคลอื่นๆ ใช้งานไม่ได้ ก็มีความผิดค่ะ

บทลงโทษ

    ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


3. ส่งข้อมูลหรืออีเมลก่อกวนผู้อื่น หรือส่งอีเมลสแปม

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

    ข้อนี้ก็เข้ากับประเด็นพ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ หรือนักการตลาดที่ส่งอีเมลขายของที่ลูกค้าไม่ยินดีที่จะรับ หรือที่รู้จักกันว่า อีเมลสแปม หรือแม้แต่การฝากร้านตาม Facebook กับ IG ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ และยังรวมถึงคนที่ขโมย Database ลูกค้าจากคนอื่น แล้วส่งอีเมลขายของตัวเองค่ะ

บทลงโทษ

    ถ้าส่งโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มา ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท และถ้าส่งโดยไม่เปิดโอกาสให้ปฏิเสธตอบรับได้โดยงาน ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

4. เข้าถึงระบบ หรือข้อมูลทางด้านความมั่นคงโดยมิชอบ

    โพสต์เกี่ยวกับเรื่องการเมืองที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายหรือความมั่นคงต่อประเทศ หรือโพสต์ที่เป็นการก่อกวน หรือการก่อการร้ายขึ้น ก็มีความผิดค่ะ เพราะมาตรา 12 ได้บอกไว้ว่าการเข้าถึงระบบหรือข้อมูลทางด้านความมั่งคงโดยมิชอบ หรือการโพสต์ข้อความในโลกออนไลน์ที่เข่าข่ายข้อมูลเท็จที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ หรือทำให้ประชาชนเกิดอาการตื่นตระหนก และล่วงรู้ถึงมาตรการการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์และนำไปเปิดเผย

บทลงโทษ

  • กรณีไม่เกิดความเสียหาย: จำคุก 1-7 ปี และปรับ 2 หมื่น – 1.4 แสนบาท
  • กรณีเกิดความเสียหาย: จำคุก 1-10 ปี และปรับ 2 หมื่น – 2 แสนบาท
  • กรณีเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย: จำคุก 5-20 ปี และปรับ 1 แสน – 4 แสนบาท

5. จำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อนำไปใช้กระทำความผิด

  • กรณีทำเพื่อเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 5-11 (หรือข้อ 1-3 ในบทความนี้) ต้องจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากมีผู้นำไปใช้กระทำความผิด ผู้จำหน่ายหรือผู้เผยแพร่ต้องรับผิดชอบร่วมด้วย
  • กรณีทำเพื่อเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ มาตรา 12 ต้องจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากมีผู้นำไปใช้กระทำความผิด ผู้จำหน่ายหรือผู้เผยแพร่ต้องรับผิดชอบร่วมด้วย

6. นำข้อมูลที่ผิด พ.ร.บ. เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์


    ในความผิดมาตรา 14 จะระบุโทษการนำข้อมูลที่เปิดพ.ร.บ.เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ข้อความผิดด้วยกันคือ

  • โพสต์ข้อมูลปลอม ทุจริต หลอกลวง (อย่างเช่น ข่าวปลอม โฆษณาธุรกิจลูกโซ่ที่หลอกลวงเอาเงินลูกค้า และไม่มีการส่งมอบของให้จริงๆ เป็นต้น)
  • โพสต์ข้อมูลความผิดเกี่ยวกับความมั่งคงปลอดภัย
  • โพสต์ข้อมูลความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง ก่อการร้าย
  • โพสต์ข้อมูลลามก ที่ประชาชนเข้าถึงได้
  • เผยแพร่ ส่งต่อข้อมูล ที่รู้แล้วว่าผิด (อย่างเช่น กด Share ข้อมูลที่มีเนื้อหาเข้าข่ายความผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ก็มีความผิดค่ะ )

บทลงโทษ

    หากเป็นการกระทำที่ส่งผลถึงประชาชน ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากเป็นกรณีที่เป็นการกระทำที่ส่งผลต่อบุคลใดบุคคลหนึ่ง ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (แต่ในกรณีอย่างหลังนี้สามารถยอมความกันได้)

7. ให้ความร่วมมือ ยินยอม รู้เห็นเป็นใจกับผู้ร่วมกระทำความผิด

    กรณีนี้ถ้าเทียบให้เห็นภาพชัดๆ ก็เช่น เพจต่างๆ ที่เปิดให้มีการแสดงความคิดเห็น แล้วมีความคิดเห็นที่มีเนื้อหาผิดกฎหมายก็มีความผิดค่ะ แต่ถ้าหากแอดมินเพจตรวจสอบแล้วพบเจอ และลบออก จะถือว่าเป็นผู้ที่พ้นความผิด

บทลงโทษ

    แต่ถ้าไม่ยอมลบออกต้องได้รับโทษ ถือว่าเป็นผู้กระทำความผิดตามมาตร 14 ต้องได้รับโทษเช่นเดียวกันผู้โพสต์ หรือแสดงความคิดเห็นทางออนไลน์ แต่ถ้าผู้ดูแลระบบพิสูจน์ได้ว่า ตนได้ปฏิบัติตามขั้นตอนการแจ้งเตือนแล้วไม่ต้องรับโทษ

8. ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงภาพ

    ความผิดข้อนี้ แบ่งออกเป็น 2 ประเด็นหลักคือ

    • การโพสต์ภาพของผู้อื่นที่เกิดจากการสร้าง ตัดต่อ หรือดัดแปลง ที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง อย่างเช่นกรณีที่เอาภาพดาราไปตัดต่อ และตกแต่งเรื่องขึ้นมา จนทำให้บุคคลนั้นเกิดความเสียหาย ก็ถือว่ามีความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ค่ะ

    • การโพสต์ภาพผู้เสียชีวิต หากเป็นการโพสต์ที่ทำให้บิดามารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย

บทลงโทษ

    หากทำผิดตามนี้ ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาท

9. เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับเยาวชน ต้องกระทำโดยปกปิดไม่ให้ทราบตัวตน

    ข้อนี้มีขึ้นเพื่อปกป้องเด็กและเยาวชน เพราะเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี หรือก็คือยังเป็นเด็กอยู่ หากถูกเปิดเผยตัวตน อาจทำให้ใช้ชีวิตในสังคมได้ลำบากขึ้น อาจเกิดการถูกดูหมิ่น เกลียดชัง หรือโดนตามตัวโดยมิจฉาชีพได้ แต่ข้อห้ามนี้ก็มีข้อยกเว้นเหมือนกันคือ สามารถเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนได้ หากข้อมูลนั้นเป็นการยกย่อง เชิดชู ให้เกียรติ

บทลงโทษ

    จำคุก 1-3 ปี และปรับ 2 หมื่น – 2 แสนบาท

10. เผยแพร่เนื้อหาลามก อนาจาร

    เป็นเรื่องที่ทราบดีอยู่แล้ว และใน พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฉบับนี้เอง ก็ห้ามเปิดเผยเนื้อหาลามก อนาจาร สู่สาธารณะ ที่คนอื่นๆ สามารถเห็นได้ 

บทลงโทษ

    จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

11. กด Like & Share ถือเป็นวิธีหนึ่งในการเผยแพร่ข้อมูล

    คิดว่าคงไม่มีใครที่ไม่รู้จักกับปุ่มไลค์กับปุ่มแชร์บนโลก Social Media หรอกใช่ไหมคะและก็เชื่อด้วยว่าวันๆ หนึ่ง เรากดปุ่มพวกนี้กันอยู่เสมอ เมื่อใน พ.ร.บ.ฉบับนี้ กำหนดว่าการกด Like & Share ถือเป็นการเผยแพร่ข้อมูล ก็แสดงว่าหากข้อมูลนั้นเป็นข้อมูลปลอม เท็จ หรืออะไรก็ตามแต่ นั่นเท่ากับว่าเราผิดกฎหมาย พ.ร.บ. แล้ว

    ดังนั้นก่อนไลค์ก่อนแชร์ ก็พิจารณากันให้ชัวร์นะคะ

บทลงโทษ

    จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

12. แสดงความคิดเห็นที่ผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

    หากคุณมีเพจเป็นของตัวเอง การหมั่นเช็คข้อความบนหน้าเพจก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากถูกตรวจเจอข้อความที่ผิดกฎหมาย คุณจะมีความผิดด้วย

บทลงโทษ

    จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

13. ละเมิดลิขสิทธิ์ นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง

    ข้อนี้สำคัญ ควรต้องระวังไว้ให้มาก การนำผลงานของคนอื่นมาเป็นของตนเอง โดยปกติก็เป็นสิ่งที่ไม่ดีอยู่แล้ว ซึ่งใน พ.ร.บ. ฉบับนี้ก็ได้มีการให้โทษกับผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย โดยหากนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ในเชิงพาณิชย์ จะถือว่ามีความผิด และต้องได้รับโทษ

บทลงโทษ

    จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

สรุป

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 หรือฉบับที่ 2 ปัจจุบันมีผลบังคับใช้แล้ว ถ้าเราเป็นคนหนึ่งที่คลุกคลีกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ หรืออินเตอร์เน็ต ก็ควรจะรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ. นี้ไว้ค่ะ เพราะเราจะได้ไม่เผลอไปทำความผิด อย่างน้อยๆ ต้องระวัง 8 ประเด็นที่เราได้เขียนเอาไว้เลยค่ะ อีกทั้งการมี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ขึ้นมา ก็ถือว่าเป็นการควบคุมการใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับหนึ่ง และในทางหนึ่งก็ช่วยคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้งานด้วย


วิดิโอสรุปพรบ.คอม





วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2563

กิจกรรมที่ 2 ความรู้เรื่องBlog

What is a Blog ??????



Blogger คืออะไร ?        

    Blogger คือบริการบล็อกฟรีของ Google ซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคน สามารถเข้าไปสมัครและสร้างบล็อกเป็นของตัวเองได้ฟรี ๆ เพื่อนำเสนอเรื่องราวต่าง ๆ ที่เสนใจ หรือแบ่งปันความรู้ใหม่ๆกับบุคคลอื่น ๆ ในโลกออนไลน์ ซึ่งถ้าต้องการสร้างบล็อกกับ Blogger เก็ต้องมีบัญชีของ Google เท่านั้นเอง แค่นี้ก็มีสิทธิ์สร้างบล็อกกับ Blogger ได้แล้ว


ประวัติความเป็นมาของบล็อก 

    คำว่า เว็บล็อก “Weblog” ถูกบัญญัติขึ้นครั้งแรกโดย นายจอร์น บาจเจอร์(Jorn Barger) นักเขียนชาวอเมริกา ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2540 โดยความหมายเดิมมาจากการรวมคำว่า "logging the web" เพื่อใช้อ้างอิงเว็บเพจซึ่งเขาได้รวบรวมเอาลิ๊งก์ที่เขาสนใจในแต่ละวัน ไว้ในเว็บไซต์ www.robotwisdom.com ของเขาเองเริ่มแรกคนที่เขียนบล็อกนั้นยังทำกันในระบบ Manual คือเขียนเว็บเพจขึ้นเองทีละหน้า   ต่อมานาย Peter Merholz มาเรียกย่อเหลือแต่ “Blog” แทนในเดือนเมษายนปี พ.ศ.2542 และคำคำนี้เริ่มใช้เป็นครั้งแรกๆ ผ่านทางหน้าหนังสือพิมพ์และนิตยสารจนมาถึงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2546 ทาง Oxford English Dictionary จึงได้บรรจุคำว่า blog ในพจนานุกรม แสดงว่าได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ 


Blogger ดีอย่างไร ?

    ข้อดีของ Blogger นั้นมีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการใช้งานง่าย ใช้งานได้ฟรี มีความยืดหยุ่นสูง ปรับแต่งหน้าตาได้สวยงาม ใช้หารายได้กับ Google AdSense ได้ เป็นต้น ซึ่งพอสรุปได้ดังนี


Blogger ใช้บริการได้ฟรี

    สามารถสมัครใช้ Blogger ได้ฟรี ๆ เพียงแค่มีบัญชีของ Google เท่านั้น ทำให้สามารถมีบล็อกเป็นของตัวเองโดยไม่ต้องเช่าโดเมนเนม ไม่ต้องเช่าโฮสติ้งให้เสียเงินเสียทอง

Blogger ใช้งานง่าย

    สามารถใช้ Blogger สร้างบล็อกได้อย่างง่ายดาย ต่อให้ไม่มีความรู้ในการสร้างเว็บหรือเขียนบล็อกมาก่อนเลย ก็สามารถใช้เวลาเรียนรู้ได้ไม่นาน Blogger จึงเหมาะกับมือใหม่เป็นอย่างยิ่ง


Blogger มีหน้าตาที่สวยงาม

    ถึงแม้ว่า Blogger จะเป็นบริการฟรี แต่ก็มีธีมให้เลือกซึ่งนำมาใช้ปรับแต่งหน้าตาของบล็อกให้ดูสวยงาม มีความเป็นมีอาชีพ อีกทั้งยังมีผู้พัฒนาธีม Blogger ให้เเลือกดาวน์โหลดมาใช้งานได้เยอะแยะมากมาย นอกจากนี้ ถ้าเรามีความรู้ด้านภาษา HTML เรายังสามารถปรับแต่งแก้ไขธีมของ Blogger ได้ด้วยตนเองอีกด้วย


Blogger มีความยืดหยุ่นสูง

    สามารถปรับแต่งการทำงานหรือเพิ่มลูกเล่นต่าง ๆ ให้กับบล็อกที่สร้างด้วย Blogger ได้หลากหลายโดยการเพิ่ม Gadget แบบต่าง ๆ ทำให้บล็อกมีลูกเล่นมีสีสันมากขึ้น


Blogger ใช้หารายได้ออนไลน์ได้

    สามารถใช้บล็อกที่สร้างด้วย Blogger หารายได้ออนไลน์ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ขายของออนไลน์หารายได้จากโฆษณาด้วย Google AdSense หรือหารายได้จาก Affiliate Program เป็นต้น


Blogger มีประสิทธิภาพด้าน SEO สูง

    บล็อกที่สร้างด้วย Blogger มีความแรงด้าน SEO ในตัวเองอยู่แล้ว ทำให้เนื้อหาในบล็อกถูกค้นพบโดยผู้ใช้อินเตอร์เน็ตได้ง่าย โดยที่ไม่ต้องไปลงทุนลงแรงกับการโฆษณาให้เสียเงินเสียทองและเสียเวลา


Blogger มีความนิยมสูง หาข้อมูลได้ง่าย

    ในปัจจุบันมีคนสร้างบล็อกด้วย Blogger กันมากมาย ทำให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการทำบล็อกด้วย Blogger เยอะ เมื่อติดปัญหาอะไร ก็สามารถค้นหาข้อมูลเพื่อแก้ปัญหาได้ค่อนข้างง่าย


Blogger สามารถจดโดเมนได้

    โดยปกติบล็อกที่สร้างด้วย Blogger จะมีโดเมนเนมที่ต่อท้ายด้วย blogspot.com เพราะไม่จำเป็นต้องจดโดเมนเนม นั่นก็หมายความว่าไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจดโดเมนเลย อีกทั้งไม่ต้องเช่าโฮสต์ด้วย เพราะบล็อกจะถูกฝากไว้กับ Blogger  แต่สำหรับผู้ที่ต้องการมีโดเมนเป็นของตัวเอง เมื่อเราสร้างบล็อกด้วย Blogger เราก็สามารถจดโดเมนเนมได้เช่นกัน โดยเราจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าโดเมนเนมเท่านั้น ไม่ต้องจ่ายค่าโฮสต์ เพราะบล็อกของเรายังอยู่กับ Blogger เหมือนเดิม

https://www.dcrub.com/blogger

ประเภทของบล็อก แบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท 

                1. Filter Blog เป็นบล็อกที่ผู้จัดทำ จะใช้สำหรับนำเสนอแหล่งข้อมูลที่ตนสนใจ (เว็บเพจหรือเว็บไซต์) โดยปกติมักจะเป็นข่าว บทความ หรือความคิดเห็นของบุคคลในวงการที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ต่าง ๆ อาจเรียกได้ว่า เป็น บล็อก “Bookmark” หรือ มีชื่อเฉพาะ ว่า Social Bookmark  บล็อกลักษณะนี้ จะนำเสนอแค่หัวข้อเรื่อง และ URL ของเว็บเพจหรือเว็บไซต์ บางทีอาจเพิ่มคำอธิบายเว็บเพจหรือเว็บไซต์นั้น ๆ ได้ด้วย และบางที่อาจจะสามารถเพิ่มความคิดเห็นของผู้จัดทำบล็อกได้อีกด้วย เป็นเหมือนการกลั่นกรองข้อมูลให้ทราบว่าเว็บเพจหรือเว็บไซต์ใดกำลังได้รับความนิยม ซึ่งจะเป็นการช่วยจัดลำดับความน่าเชื่อถือของเว็บเพจหรือเว็บไซต์นั้น ๆ ได้เช่นกัน 
                2. Personal Journal Blog เป็นบล็อกที่ผู้จัดทำ จะใช้สำหรับนำเสนอความคิดเห็นหรือประสบการณ์ของตนเองผ่านข้อเขียน โดยอาจจะมีภาพประกอบ หรือมีการเชื่อมโยงออกไปยังเว็บไซต์อื่น ๆ เพื่อให้ข้อมูลดูน่าเชื่อถือหรือมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งบล็อกลักษณะนี้ เป็นบล็อกตามความเข้าใจของบุคคลทั่วไป 
                3. Photo Blog เป็นบล็อกที่ใช้สำหรับเก็บภาพ (ภาพถ่าย, ภาพวาด ฯลฯ) และสามารถใส่รายละเอียดของภาพ ใส่คำค้น (tag) ได้ ทำให้การเก็บภาพเป็นระบบและง่ายต่อการค้นหามากขึ้น 

                4. Video Blog หรือ เรียกว่า Vlogเป็นบล็อกที่ใช้สำหรับเก็บวีดิทัศน์ส่วนตัว สามารถใส่รายละเอียดของวีดิทัศน์ ใส่คำค้น (tag) ได้ ทำให้การเก็บวีดิทัศน์เป็นระบบและง่ายต่อการค้นหามากขึ้น
                5. บล็อกผสม มีลักษณะเป็นบล็อกที่สามารถเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้หลายประเภท ทั้งเก็บรูปภาพ เก็บเพลง เก็บวีดิโอ เก็บลิงค์ (link) ต่าง ๆ หรือบันทึกประจำวัน และใส่ปฏิทินรายการงานที่ต้องทำ ฯลฯ ได้ด้วย ปัจจุบันเป็นบริการที่ได้รับความนิยมสูงมาก โดยมีชื่อเฉพาะด้วย เรียกว่า Social Network Service ซึ่งนอกจากจะมีจุดประสงค์เพื่อให้สมาชิกแลกเปลี่ยนข้อมูลต่าง ๆ กันแล้ว ก็ยังมีจุดประสงค์หลักเพื่อการค้นหาและสะสมเพื่อนจากทั่วโลก  

https://jijunjang.wordpress.com/2013/03/03/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%97%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%81/


วิธีการสร้าง Blogger 

ขั้นตอนที่ 1

     เข้าไปที่เว็บ http://www.blogger.com จะขึ้นหน้าจอตามรูป


ขั้นตอนที่ 2

     จากนั้นทำการสมัคร (สำหรับบุคคลที่ยังไม่มี Gmail ) ถ้ามีแล้วให้ล๊อกอินได้


ขั้นตอนที่ 3

     ให้กรอกข้อมูลตามความเป็นจริง


ขั้นตอนที่ 4

     คลิกที่ปุ่มสร้างบล๊อกใหม่ตามรูป



ขั้นตอนที่ 5

     พอคลิกแล้วจะขึ้นตามรูป  จากนั้นให้กรอกข้อมูลลงไป     เลือกแม่แบบตามใจชอบได้


ขั้นตอนที่ 6

    คลิกปุ่มตามรูป


ขั้นคอนที่ 7

    ใส่ข้อมูลต่างๆ


ขั้นตอนที่ 8

     คลิกปุ่ม "แสดงตัวอย่าง" ถ้าชอบแล้วกดบันทึกได้เลย

http://thelegendblogger.blogspot.com/

การเลือก และจัดการธีม ใน Blogger ทำอย่างไร

    จัดการแต่งให้บล็อคของเราสวยงามมากขึ้น ด้วยการเลือกธีม โดยให้ไปที่ เมนูธีม และเลือกธีมที่ต้องการ ชอบแบบไหนก็เลือกเลยครับ เลือกให้เหมาะกับ concept ของบล็อคเรา

การเลือกธีมใน blogger

การเลือกรูปแบบ

คลิกที่เมนูรูปแบบ ให้เพิ่ม Gadget ซึ่งเราสามารถเพิ่มได้หลายแบบ Gadget ก็เหมือน widget ใน wordpress

การเพิ่ม gadget ใน blogger

เราจะลองเพิ่ม gadget ตัวที่เป็นหน้าเวบดูก่อนนะครับว่ามันเป็นอย่างไร ให้กดที่เครื่องหมายบวกเพื่อเพิ่มได้เลย

การเพิ่ม gadget ใน blogger

เมื่อเพิ่มเข้ามาแล้วเราก็ตั้งชื่อ หรือจะไม่ใส่ก็ได้ เลือกว่าจะเพิ่มหน้าไหนบ้าง และเราสามารถจัดวางตำแหน่งได้ตามที่ต้องการ เพียงลากแล้วนำไปวางสลับตำแหน่งไปมา แล้วกดปุ่มบันทึก

การใช้ gadget ใน blogger

gadget ที่เราได้เลือกไว้จะออกมาเป็นแบบภาพด้านล่างนี้ ทั้งนี้ทั้งนั้นหน้าตาของ gadget ของเราจะออกมาเป็นแบบไหน ขึ้นอยู่กับธีมที่เราเลือกใช้ด้วยครับ Gadget บางอย่างที่เราเลือกอาจไม่ปรากฏบนหน้าบล็อค เพราะธีมนั้นๆอาจไม่รองรับก็เป็นได้ ดังนั้นผมแนะนำว่าให้เราลองเลือกธีม และดูหน้าตาของบล็อคเราว่าธีมไหนเหมาะกับบล็อคของเรา ลองใช้เวลากับตรงนี้ดูนะครับ เพราะธีมบางธีมก็มีลูกเล่นให้เราลองเล่นมากมาย ให้ลองเลือก และลองเล่นดูนะครับ และทุกครั้งที่เปลี่ยนแปลงอย่าลืมกดบันทึกด้วยนะครับ

การใช้ gadget ใน blogger

เราลองมาเปลี่ยนไปใช้เป็นธีมอื่นกันบ้างไหม ลองเลือกธีมที่มี sidebar แล้วจัดเรียงตามใจชอบ มันก็จะออกมาเป็นภาพด้านล่างนี้ อย่างที่บอกให้ลองเลือกใช้ธีมดูนะครับ แล้วลองดูผลที่ได้ว่าเหมาะสม หรือไม่อย่างไร

ธีมที่มี sidebar ใน blogger

ธีมที่เราเลือกไว้ก็ยังสามารถปรับแต่งเพิ่มเติม เพื่อเพื่อความสวยงามได้อีก โดยให้ไปคลิกที่ธีม แล้วคลิกที่ปุ่มปรับแต่ง

การปรับแต่งธีมใน blogger

เราสามารถปรับแต่งพื้นหลัง หรือ Background ให้สวยงามตามใจเราได้ โดยไปคลิกที่พื้นหลัง จากนั้นคลิกที่ภาพพื้นหลัง แล้วมาเลือกภาพพื้นหลัง จากนั้นกดปุ่มเสร็จสิ้น

การใส่ background ใน blogger

และเรายังสามารถเลือกสี background ให้กับธีมได้อีกด้วย ลองเล่นดูนะครับ

การเปลี่ยนสีให้กับธีมใน blogger

และเรายังสามารถปรับความกว้างของหน้า blog เราได้ด้วย แต่ก็ขึ้นอยู่กับธีมที่เลือกใช้ด้วย บางธีมอาจรองรับ หรือบางธีมอาจไม่รองรับ

ปรับความกว้างของหน้า blog ใน blogger

เรายังสามารถจัดรูปแบบของเนื้อหาใน blog เราได้ โดยการคลิกที่ รูปแบบ ก็จะปรากฏรูปแบบต่างๆขึ้นมาให้เราเลือกใช้งาน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับธีมที่เราใช้ด้วยนะครับว่ามันรองรับไหม

การเลือกรูปแบบของเนื้อความใน blogger

เรายังสามารถปรับแต่งขั้นสูงได้อีก เช่น การปรับแต่งสีในส่วนต่างๆของเวบ ไม่ว่าจะเป็นหน้าเวบ ต้องการให้สีของตัวอักษร สีของพื้นหลังเป็นสีอะไร การปรับแต่งในส่วนหัว การปรับแต่งแถบส่วนหัว การปรับแต่งสีลิงค์ต่างๆ เป็นต้น ลองไล่เล่นดูนะครับ และเมื่อปรับจนเป็นที่พอใจแล้วให้คลิกที่ปุ่ม ใช้กับบล็อค ด้านบนขวาด้วยนะครับ

การปรับแต่ง blog ขั้นสูงใน blogger

หลังจากที่คลิกปุ่ม ใช้กับบล็อค เรียบร้อย เราก็มาดูบล็อคที่เราสร้างไว้กันสักหน่อย โดยให้ไปคลิกที่ ดูบล็อค

ดูบล็อคใน blogger
Blog ที่สร้างไว้หน้าตาเป็นแบบนี้
Blog ที่สร้างไว้หน้าตาเป็นแบบนี้

ในการทำ Blog เราควรลงข้อมูลทั้งหมดให้เรียบร้อยก่อน แล้วค่อยมาปรับแต่ง เป็นอย่างไรบ้างครับการทำ Blog ด้วย Blogger ง่ายนิดเดียวจริงไหม

                                

https://www.youtube.com/watch?v=KRM-pOWn3v4

วิดิโอตัวอย่างการสร้าง Blogger


วิธีเขียนบทความลงบล็อกใน Blogger




เทคนิคการสร้าง Blog ให้น่าสนใจ


การใส่โค๊ดเมาส์ ลงใน blogger






การใส่ code ปฏิทิน นาฬิกา ของ  Blogger





การนำเอา youtube ใส่ใน blogger